วันพฤหัสบดีที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2551

อ้างอิง

http://blog.eduzones.com/dingo/3466

การขยายพันธุ์


การขยายพันธุ์ลีลาวดี 1. การเพาะเมล็ด จะใช้ฝักที่แก่จัด ส่วนใหญ่ใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ ซึ่งเมล็ดลีลาวดีงอกได้ง่าย แต่ละฝักของลีลาวดีจะได้ต้นกล้าประมาณ 50 -100 ต้น สามารถเพาะในกระถางเพาะได้เลย ข้อดี ของการเพาะเมล็ดลีลาวดี คือ จะได้ต้นที่กลายพันธุ์ หรือ ต้นลีลาวดีแคระ ด่าง 2. การปักชำ เป็นวิธีที่ง่าย รวดเร็วในการขยายพันธุ์ต้นลีลาวดีและยังเป็นวิธีรักษาพันธุ์เดิมเอาไว้ 3. การเปลี่ยนยอด จะใช้ในกรณีที่ได้พันธุ์ดีแล้วนำมาเปลี่ยนยอดบนต้นตอที่เพาะกล้าไว้แล้วอาจจะเสียบข้างหรือผ่าเป็นลิ่ม วิธีนี้ต้องป้องกันไม่ให้น้ำเข้า ไม่เช่นนั้นแผลจะเน่า 4. การติดตา ใช้ในกรณีที่ได้ตามีไม่มากนัก เป็นการขยายพันธุ์แบบประหยัด กิ่งหนึ่งสามารถขยายพันธุ์ได้เป็นจำนวนมาก โรคและแมลง ตามปกติลีลาวดีจะไม่ค่อยมีโรคและแมลง รบกวน แต่ก็ได้มีการรวบรวมรายชื่อของโรคและแมลงที่เคยพบ 1.หนอนเจาะลำต้น 2.ไรขาว 3.แมลงหวี่ขาว 4.เพลี้ยไฟ 5.เพลี้ยหอย 6.เพลี้ยแป้ง 7.หนอนกัดกินใบ หนอนกระทู้ผัก 8.เชื้อราทำให้ยอดเน่า 9.ราสนิม 10.ราน้ำค้าง 11.ราสีดำ

การผลิตเพื่อการค้า


การผลิตลีลาวดีเพื่อการค้าไม่ว่าจะจำหน่ายเป็นต้น จำหน่ายเป็นกิ่งพันธุ์ หรือจำหน่ายเป็นเมล็ดพันธุ์ ล้วนแต่มีราคาดี เป็นที่ดึงดูดใจของเกษตรกรผู้ที่คิดจะปลูกลีลาวดีเพื่อการค้าการปลูกในกระถาง ลีลาวดีตอบสนองต่อวัสดุปลูกที่มีความอุดมสมบูรณ์ ระบายน้ำดี มีอินทรียวัตถุสูง และได้รับปุ๋ยเสริมตามความเหมาะสม สัดส่วนของวัสดุปลูกที่แนะนำโดยทั่วไปคือ 2:1:1 โดยใช้ มูลวัวที่ย่อยสลายแล้ว ,ใบไม้ผุและดิน แต่วัสดุปลูกที่มีขนาดเล็กละเอียด เมื่อถึงระยะหนึ่งจะอัดตัวแน่นทำให้รากพืชขาดออกซิเจน น้ำขังไม่สามารถระบายได้ ทำให้เกิดโรครากเน่าได้ การปลูกลงดินในแปลงปลูก ระยะปลูกในการปลูกลงในแปลงเพื่อเป็นการเก็บสะสมสายพันธุ์ดี หรือปลูกเพื่อขุดล้อมจำหน่าย การปลูกลีลาวดีต้นหนึ่งต้องใช้พื้นที่ประมาณ 5 ตารางเมตร ดินที่เหมาะสมในการปลูกลีลาวดี ควรเป็นดินร่วนปนทราย ดินควรมีปริมาณอินทรียวัตถุที่เหมาะสม สามารถดูดความชื้นได้ ในขณะเดียวกันต้องมีการระบายน้ำที่ดี ความเป็นกรดด่างที่เหมาะสมอยู่ในช่วง 6.5 - 7.5 แต่ถ้าดินไม่เป็นกรดหรือด่างจัดมากก็ไม่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของลีลาวดีมากนัก การดูแลรักษา ลีลาวดี สามารถเจริญเติบโตได้ดีในสภาพแวดล้อมที่กันดาร ดินไม่อุดมสมบูรณ์มากนัก แต่ถ้าต้องการให้ลีลาวดีออกดอกได้ดี ควรนำไปปลูกในกระถางและใช้ดินที่เป็นกรดเหมือนกับพืชเขตร้อนทั่วไป ลีลาวดีชอบความชื้นในอากาศสูงและไม่ชอบอยู่ในดินที่มีน้ำท่วมขังหรือมีการรดน้ำบ่อยครั้ง การปลูกควรเน้นการระบายน้ำหรือการยกร่องในแปลงปลูกเป็นหลัก ลีลาวดีเป็นพืชที่ต้องการแสงแดดในเวลากลางวันอย่างน้อยครึ่งวัน แต่หลายชนิดต้องการแสงแดดเต็มวัน ยกเว้นบางชนิดที่มีดอกสีแดงซึ่งจะชอบการพรางแสงมากกว่า 1.การให้น้ำ การปลูกในกระถาง การให้น้ำ ควรให้จนดินเปียกทั่วถึง จนน้ำส่วนเกินระบายออกทางรูระบายน้ำ แล้วปล่อยให้วัสดุปลูกแห้งก่อนการให้น้ำครั้งต่อไป หรือช่วงแล้งจัด อาจเว้นวัน และควรตรวจดูความชื้นของวัสดุปลูกอยู่เสมอการปลูกลงดิน ควรให้น้ำแต่น้อยให้ประมาณสัปดาห์ละครั้ง ขึ้นอยู่กับสภาพความชื้นในอากาศ ถ้าอากาศร้อนควรให้น้ำมากกว่าปกติ เพื่อรักษาความเขียวของใบ แต่การให้น้ำมากเกินไปมีผลต่อการเจริญเติบโตทางกิ่งก้านมากและทำให้ไม่ออกดอก 2.การให้ปุ๋ย เนื่องจากต้นลีลาวดีที่สวยและมีราคาสูงนั้น จะต้องมีฟอร์มต้นที่ดีคือมีลักษณะของทรงพุ่มกลมมีกิ่งก้านสาขาแตกออกดูแล้วมีความพอดีกับความสูงของต้น ดังนั้นการให้ปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินไปจะทำให้ต้นสูงชะลูดและไม่แทงช่อดอกในเวลาอันควร ในการที่จะเร่งการเจริญเติบโตทั้ง ทางใบ ลำต้น และดอก คือการใช้ปุ๋ยไนโตรเจน ฟอสฟอรัสและโปแตสเซียมในอัตราส่วนที่เท่ากัน หรือให้ฟอสฟอรัสสูงและให้ธาตุอาหารรองที่จำเป็นต่อลีลาวดีคือ แมกนีเซียม ทองแดง เหล็ก สังกะสี กำมะถัน และแมงกานีส

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์


ชื่อวงศ์ : Apocynaceaeชื่อสามัญ : Frangipani , Pagoda tree, Temple tree ชื่อวิทยาศาสตร์ : Plumeria spp. ลีลาวดีมีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกา พบในบริเวณพื้นที่ตั้งแต่ประเทศเม็กซิโกตอนใต้ถึงตอนเหนือของทวีปอเมริกา โดยเฉพาะหมู่เกาะทะเลแคริบเบียน ลีลาวดีเป็นไม้ยืนต้น มีขนาดตั้งแต่พุ่มเตี้ยแคระสูงประมาณ 0.9-1.2 เมตร จนถึงต้นที่สูงมาก อาจสูงถึง 12 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านสขาและพุ่มใบสวยงาม มีน้ำยางสีขาวข้น เป็นไม้ผลัดที่สลัดใบในฤดูแล้งก่อนที่จะผลิดอกและผลิใบรุ่นใหม่ กิ่งที่ยังไม่แก่มีสีเขียว อ่อนนุ่ม ดูเกือบจะอวบน้ำ กิ่งแก่มีสีเทามีรอยตะปุ่มตะป่ำ กิ่งไม่สามารถทานน้ำหนักได้ กิ่งเปราะ เปลือกลำต้นหนา ต้นที่โตเต็มที่แล้วจะพัฒนาจนกระทั่งมีความแข็งแรงมากขึ้น ใบ เป็นใบเดี่ยว มีการเรียงตัวแบบสลับและหนาแน่นใกล้ปลายกิ่ง มีลักษณะแตกต่างกันไปทั้งรูปร่าง ขนาด สี และความหนาแน่น โดยทั่วไป ใบจะหนา เหนียวแข็ง และมีสีตั้งแต่สีเขียวอ่อนถึงสีเขียวเข้ม มีเส้นกลางใบแตกสาขาออกไปคล้ายขนนก ขนาดใบแตกต่างกันช่อดอก ดอกจะผลิออกมาจากปลายยอดเหนือใบ เห็นเป็นช่อดอกใหญ่สวยงาม แต่ก็มีบางชนิดที่ออกช่อดอกระหว่างใบ หรือใต้ใบ บางชนิดห้อยลงบางชนิดตั้งขึ้น ในหนึ่งช่อจะมีดอกบานพร้อมกัน 10 – 30 ดอก บางต้นที่มีความสมบูรณ์เต็มที่อาจมีดอกมากกว่า 100 ดอก ต่อ 1 ช่อ ออกดอกประมาณเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน บางพันธุ์สามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี ลักษณะของ ดอก โดยทั่วไปจะมีขนาดใหญ่ถึงกลาง ยกเว้นบางพันธุ์ที่มีขนาดเล็ก กลีบดอกมี 5 กลีบ เกสรตัวผู้ เกสรตัวเมีย อยู่ลึกเข้าไปข้างใน ดอกมีลักษณะคล้ายท่อ ทำให้มองไม่เห็นเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมีย โดยจะมีเกสรตัวผู้ 5 อัน อยู่ที่โคนก้านดอก ส่วนเกสรตัวเมียอยู่ลึกลงไปในก้านดอก เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียบานไม่พร้อมกัน ยากต่อการผสมตัวเอง ฝัก มีลักษณะคล้ายกับฝักต้นชวนชม ฝักอ่อนสีจะมีสีเขียวเมื่อแก่ฝักจะมีสีแดงถึงดำ

ประวัติดอกลีลาวดี



ชื่อวิทยาศาสตร์
Plumeria spp.
ตระกูล
Apocynaceae
ชื่อสามัญ
Frangipani,Pagoda,Temple
ถิ่นกำเนิด
เม็กซิโกใต้ถึงตอนเหนือทวีปอเมริกาใต้

ลักษณะทั่วไป

ลีลาวดี เป็นไม้ยืนต้น มีขนาดจากที่เป็นพุ่มเตี้ยแคระสูงประมาณ0.6 เมตร จนถึงต้นใหญ่มากอาจที่สูงได้ถึง 12 เมตร ลำต้นแผ่กิ่งก้านสาขาและพุ่มใบสวยงาม มีน้ำยางขนสีขาวเป็นพันธุ์ไม้ที่สลัดใบในฤดูแล้งก่อนที่จะผลิดอกผลิใบรุ่นใหม่ชนิดและพันธุ์ที่มีลักษณะดี ต้องมีทรงพุ่มแน่น มีกิ่งก้านสาขามาก ใบดกที่ปลายกิ่ง มีช่อดอกใหญ่ กิ่งที่ยังไม่แก่มีสีเขียวออ่นนุ่ม กิ่งที่แก่มีสีเทามีรอยตะปุ่มตะป่ำ ใบ เป็นใบเดี่ยวมีการเรียงตัวสลับกันและหนาแน่นใกล้ๆปลายกิ่ง มีตั้งแต่สีเขียวอ่อนถึงเขียวเข้ม มีเส้นกลางใบแตกสาขาออกไปคล้ายขนนก ขนาดใบแตกต่างกันตั้งแต่ 5-20 นิ้ว ช่อดอก จะถูกผลิตออกมาจากปลายยอดเหนือใบแต่กก็มีบางชนิดที่ออกช่อดอกระหว่างใบหรือออกดอกใต้ใบ ช่อดอกบางชนิดตั้งขึ้น บางชนิดห้อยลง ใน 1 ช่อดอกจะมีดอกบานพร้อมกัน 20-30 ดอก บางต้นสมบูรณ์เต็มที่อาจมีดอกมากกว่า 100 ดอก ต่อ 1 ช่อ ดอกโดยทั่วไป กลีบดอกมี 5 กลีบ เกสรตัวผู้ เกสรตัวเมีย อยู่ลึกเข้าไปข้างใน ดอกของ ลีลาวดีมีสีสรรหลากหลาย ทั้ง ขาว แดง เหลือง ชมพู ส้ม ม่วง สีทอง มีกลิ่นหอมต่างๆกันไปในแต่ละชนิด ดอกมีขนาด 2 - 6 นิ้ว มีกลิ่นหอม ผล เป็นฝักคู่ รูปยาวรี กว้างประมาณ 1.5 - 15 ซม. เมื่อแก่แตกเป็น 2ซีก เมล็ดมีจำนวนมาก เมล็ดแบนมีปีก ลีลาวดีมีช่วงชีวิตที่ยาวนานนับ 100 ปี

ฤดูกาลออกดอก

ออกดอกระหว่างเดือนกุมภาพันธุ์-เมษายน บางพันธุ์ออกดอกตลอดปี เช่น ขาวพวง

สภาพการปลูก

ลีลาวดี เป็นไม้กลางแจ้ง ชอบแสงแดด ทนต่อความแห้งแล้ง ไม่ชอบน้ำมาก ดินที่เหมาะสมในการปลูกลีลาวดี ควรมีลักษณะเป็นดินร่วนปนทราย ส่วนดินเหนียวหรือดินที่มีเนื้อดินละเอียดหนักซึ่งน้ำขังง่าย จะทำให้รากเน่า โคนเน่าได้ ลีลาวดีจะเจริญเติบโตในที่ที่มีแสงแดดส่องถึงหากไม่ได้รับแสงแดดเต็มที ก็จะไม่ออกดอก แต่บางพันธุ์ก็ไม่ต้องการแสงแดดจัดในช่วงบ่าย

การขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด,การปักชำกิ่งการขยายพันธุ์แบบนี้จะไม่มีรากแก้ว,การเสียบยอดพันธุ์ดีสามารถทำให้ในหนึ่งต้น เสียบยอดให้ได้ดอกหลายสีได้ ,และการขยายพันธุ์โดยการติดตา

การปลูกและดูแลรักษา
การปลูกในกระถางลีลาวดีจะตอบสนองต่อวัสดุปลูกที่มีความอุดมสมบูรณ์ ระบายน้ำได้ดี มีอินทรีวัตถุและได้รับปุ๋ยเสริมตามความเหมาะสม สัดส่วนที่ปลูกนกระถางโดยทั่วไป 50% มูลวัวที่ย่อยสลายดีแล้ว 25% ใบไม้ผุ 25% ดิน การให้น้ำ ใส่น้ำให้ดินในกระถางให้เปียกทั่วถึง จนน้ำส่วนเกินระบายออกทางรูระบายน้ำ แล้วปล่อยให้วัสดุปลูกแห้งก่อนให้น้ำครั้งต่อไปซึ่งอาจจะเป็นอาทิตย์ละ2ครั้ง หรือถ้าช่วงแล้งจัดๆ อาจเป็นวันเว้นวัน อย่างไรก็ตาม ควรตรวจสอบความชื้นวัสดุปลูกอย่างสม่ำเสมอ แต่วัสดุปลูกที่มีขนาดเล็กละเอียด เมื่อถึงระยะหนึ่งจะอัดตัวแน่นและรากจะไม่สามารถเจริญผ่านจุดนี้ไปได้น้ำก็จะขังไม่สามารถระบายน้ำได้ในที่สุดจะทำให้เกิดโรครากเน่าโคนเน่าได้การปลูกลงดินในแปลงปลูกดินควรเป็นดินร่วนปนทราย ส่วนดินเหนียวหรือดินที่มีเนื้อดินละเอียดหนักซึ่งน้ำขังง่ายไม่เหมาะที่จะใช้ในการปลูก ดินควรมีมาณอินทรียวัตถุที่เหมาะสม สามารถดูดยึดความชื้นได้ดี ในขณะเดียวกันต้องมีการระบายน้ำได้ดี การให้น้ำ ในการปลูกลงดินให้น้ำแต่นอ้ยให้ปริมาณสัปดาห์ละครั้ง ขึ้นอยูรกับสภาพความชื้นอากาศด้วย ถ้าอากาศร้อนแห้งแล้ง ก็ต้องให้น้ำบ่อยกว่าปกติเพื่อรักษาความเขียวของใบ แต่ให้น้ำมากเกินไปก็จะมีการเจริญเติบโตทางกิ่งก้านมากและทำให้ไม่ออกดอกการให้ปุ๋ยลีลาววดีจะเจริญเติบโตงอกงามได้ดีที่สุดในปุ๋ยทีมีไนโตรเจนต่ำ ฟอสฟอรัสสูง และโพแทสเซียม ในปริมาณที่เพียงพอ เนื่องจากธาตุฟอสฟอรัสจะกระตุ้นการออกดอก โดยทั่วไปลีลาวดีจะแตกกิ่งกานเมื่อมีดอก ดังนั้นต้องให้ปุ๋ยที่ส่งเสริมการออกดอกซึ้งเมื่อออกดอกมากก็หมายถึงจะมีกิ่งก้านสาขามากตามมา ส่วนธาตุไนโตรเจนจะช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของลำต้น กิ่งก้าน ใบ แต่ถ้าได้รับมากเกินไป จะทำให้มีใบมากเกินไป และไม่มีดอก นอกจากนั้นยังต้องได้รับธาตุอาหารรองได้แก่ แคลเซี่ยมและกำมะถัน โดยเฉพาะธาตุแมกนีเซียม เพื่อป้องกันโรคใบไหม้รวมทั้งธาตุอาหารจุลธาตุที่เพียงพอ ได้แก่ ธาตุเหล็ก อลูมิเนียมทองแดง แมงกานีส โมลิบดินัม โบรอน และคลอไรด์ โดยเฉพาะธาตุเหล็ก ซึ่งช่วยป้องกันอาการใบซีด